แผนที่แสดงพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดดินถล่มในประเทศไทย

ภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทย

แผนที่แสดงพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดดินถล่มในประเทศไทย

กรมทรัพยากรธรณี (2559) ได้ปรับปรุงจัดทำแผนที่แสดงพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดดินถล่ม (Landslide Hazard Map) แสดงดังรูป

ลที่ได้สามารถแบ่งพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดดินถล่มออกเป็น 3 อันดับ ดังนี้

(ก) พื้นที่สีแดงหรือพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดดินถล่มอันดับ 1 ดินมีโอกาสถล่มเมื่อมีปริมาณฝนมากกว่า 100 มิลลิเมตร/วัน หน้าดินหนา ขาดรากไม้ยึดเหนี่ยวและความลาดเอียงของพื้นที่มากกว่า 30 องศา

(ข) พื้นที่สีเหลืองหรือพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดดินถล่มอันดับ 2 ดินมีโอกาสถล่มเมื่อมีปริมาณฝนมากกว่า 200 มิลลิเมตร/วัน หน้าดินหนา ขาดรากไม้ยึดเหนี่ยวและความลาดเอียงของพื้นที่มากกว่า 30 องศา

(ค) พื้นที่สีเขียวหรือพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดดินถล่มอันดับ 3 ดินมีโอกาสถล่มเมื่อมีปริมาณฝนมากกว่า 300 มิลลิเมตร/วัน หน้าดินหนา ขาดรากไม้ยึดเหนี่ยวและความลาดเอียงของพื้นที่มากกว่า 30 องศา

นอกจากนั้นศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานรากได้พัฒนาแบบจำลองการวิเคราะห์พื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มพลวัติ (DynaSlide Model, Dynamic Landslide Susceptibility Model) แบบจำลองนี้เป็นแบบจำลองการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ตามหลักธรณีวิศวกรรมที่ใช้การวิเคราะห์ร่วมกัน 2 วิธี คือ การวิเคราะห์การไหลซึมของน้ำในมวลดินและการวิเคราะห์เสถียรภาพของลาดดินในสภาวะความชื้นที่เปลี่ยนไปเนื่องจากฝนตก เมื่อจำลองสภาวะการไหลซึมของน้ำฝนลงสู่มวลดินด้านล่างจนทำให้ความชื้นของดินในแต่ละระดับความลึกของดินเปลี่ยนแปลงไป จากนั้นทำการวิเคราะห์เสถียรภาพของลาดดินในแต่ละระดับความลึกเพื่อจัดลำดับอัตราส่วนความปลอดภัยที่น้อยที่สุดตลอดความลึก 3 เมตร ดังนั้นผลลัพธ์ที่จะได้จากแบบจำลอง คือ ค่าอัตราส่วนความปลอดภัย (Factor of Safety, F.S.) ของลาดเอียงที่แตกต่างกันในแต่ละค่าความลาดชัน ซึ่งสามารถนำมาใช้จำแนกระดับของช่วงค่าอัตราส่วนความปลอดภัยสำหรับการเตือนภัยทางด้านดินถล่มได้ หรือเรียกว่า ระดับความอ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่ม โดยสุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ และคณะ (2559) ได้เสนอเกณฑ์การจำแนกระดับความอ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มจากช่วงค่าอัตราส่วนความปลอดภัยของลาดดินธรรมชาติ สำหรับการจัดทำแผนที่เพื่อการเตือนภัยดินถล่มไว้ดังตาราง

 
แผนที่แสดงพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดดินถล่ม
 


แผนที่ความอ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่ม