การเกิดดินถล่ม

ภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทย

การเกิดดินถล่ม

ดินถล่ม คือ การพิบัติและเกิดการเคลื่อนตัวอย่างทันทีทันใดหรือแบบคงที่อย่างช้า ๆ ของมวลดิน/หินในบริเวณพื้นที่ลาดเอียง โดย Varnes (1978) ได้แบ่งประเภทของดินถล่มโดยทั่วไปตามลักษณะของการเคลื่อนตัว ออกเป็น 5 ประเภท  อันได้แก่ การร่วงหล่น (Fall) การล้มคว่ำ (Topple) การไถล (Slide) การแผ่ขยาย (Spread) และการไหลหลาก (Flow) สำหรับสาเหตุและปัจจัยกระตุ้นให้เกิด ดินถล่มนั้น  อาจมาได้จากทั้งกระบวนการตามธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น การตกของน้ำฝนที่มีปริมาณมาก การผุพังและการกัดเซาะของดิน/หิน ลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยา การสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว และปัจจัยจากการกระทำของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น การขุดตัดดินจนลาดชันมีความลาดเอียงเพิ่มมากขึ้น การรื้อย้าย พืชคลุมดิน การระบายน้ำที่ไม่เพียงพอหรือการเพิ่มน้ำหนักที่มากเกินไปบนลาดชัน เป็นต้น

เหตุการณ์ดินถล่มในประเทศไทย

เหตุการณ์ดินถล่มในประเทศไทย ได้เริ่มมีการบันทึกและเก็บข้อมูลเหตุการณ์ในพื้นที่ตำบลนาหูกวาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (อ้างอิงข้อมูลจาก วรากร ไม้เรียงและคณะ, 2546) เหตุการณ์ครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิต 12 คน หลังจากดังกล่าวก็มีเหตุการณ์ดินถล่มเกิดขึ้นเรื่อยมา มีทั้งได้รับและไม่ได้รับผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยสามารถแสดงตัวอย่างบันทึกเหตุการณ์ดินถล่มดังตารางที่ 3-4 รวมถึงตำแหน่งและตัวอย่างเหตุการณ์ดินถล่มที่เคยเกิดขึ้นในอดีต

ตัวอย่างบันทึกเหตุการณ์ดินถล่มในประเทศไทย (อ้างอิงจากฐานข้อมูลศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)

ตำแหน่งดินถล่มที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย 

ตัวอย่างเหตุการณ์ดินถล่มที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย